พิมพ์

                                                   

                                       ประวัติวิทยาลัยการอาชีพบ้านผือ   

  เมื่อปี พ.ศ. 2537 อำเภอบ้านผือ มีความประสงค์ขอจัดตั้งวิทยาลัยการอาชีพบ้านผือ โดยใช้สถานที่ซึ่งเป็นที่ดิน 
สาธารณประโยชน์ (โคกเกลี้ยง) จำนวน 146 ไร่ ในการนี้กรมอาชีวศึกษากระทรวงศึกษาธิการได้บรรจุไว้ในโครงการจัดตั้ง  
วิทยาลัยการอาชีพระดับอำเภอ เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาวิชาชีพสู่ท้องถิ่น และเป็นการสนับสนุนการพัฒนาชนบท  
ของประเทศและเพื่อผลิตกำลังคนด้านวิชาชีพ ระดับช่างกึ่งฝีมือ ช่างฝึมือและช่างเทคนิค สนองตลาดแรงงาน  
เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ
 
กรมอาชีวศึกษาจึงได้ดำเนินการขอใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์ (โคกเกลี้ยง) 
บ้านหัวคู หมู่ที่ 1 ถนนบริบาลภูมิเขตต์ ตำบลบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
จำนวน  81  ไร่เพื่อใช้เป็นสถานที่ก่อสร้าง วิทยาลัยการอาชีพบ้านผือ
กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้งวิทยาลัยการอาชีพบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
เป็นสถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม  2539
 
   
   
วิทยาลัยการอาชีพบ้านผือ เปิดทำการเรียนการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น   
เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2541 เป็นต้นมา ปัจจุบันวิทยาลัยการอาชีพบ้านผือ เปิดทำการสอน
เพื่อผลิตนักเรียน นักศึกษา 3  หลักสูตร
 
  • หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) รูปแบบปกติ และรูปแบบทวิภาคี  
  • หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) รูปแบบปกติ และรูปแบบทวิภาคี
  • หลักสูตรระยะสั้น  
   
   

สภาพทั่วไปของอำเภอบ้านผือ

 
  อำเภอบ้านผือ  เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดอุดรธานี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือห่างออกไปประมาณ      
56  กิโลเมตร จากจังหวัดอุดรธานี การเดินทางจากจังหวัดอุดรธานีตามถนนมิตรภาพ (อุดรธานี-หนองคาย)   
ถึงกิโลเมตรที่ 13 เลี้ยงซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2021 ระยะทางอีกประมาณ 43 กิโลเมตรถึงอำเภอบ้านผือ    
อำเภอบ้านผือมีเนื้อที่โดยประมาณลักษณะพื้นที่ของอำเภอครอบรูปสามเหลื่ยมมุมฉาก โดยแบ่งเขตการปกครอง   
ออกเป็น 13  ตำบล  144  หมู่บ้าน   
        ประชากรในเขตอำเภอทั้งสิ้น 112,124  คน  แยกเป็นชาย  57,619  คน  หญิง  54,505  คน    
ประชากรในเขตอำเภอบ้านผือ มีหลายเชื้อชาติ เช่น ลาว พวน (มีจำนวนมากที่สุด) ลาวเวียง ลาวภูคัง จีน ญวน   
และคนอิสานที่อพยพมาจากจังหวัดมหาสารคาม ร้อยเอ็ด และกาฬสินธ์ (ข้อมูลปี 2531 โดย ผ.ศ.ฤดีมน  ปรีดีสนิท)